top of page

อัลไซเมอร์ในสุนัข

อัลไซเมอร์ในสุนัข


อัลไซเมอร์ในสุนัข

      ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s)  มักเป็นคำที่คุ้นเคยในคน สำหรับในสุนัขก็เป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน ในสุนัขจะไม่เรียกอัลไซเมอร์แบบคน แต่เราจะเรียก Canine cognitive dysfunction (CCD) หรือบ้างก็เรียก Cognitive dysfunction syndrome (CDS)

      CDS เป็นโรคของสุนัขที่จะเกี่ยวกับความคิดความจำคือ มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ในส่วนของจิตใจทำให้เกิดปัญหา คือ ความจำหายไป เกิดจากการสะสมของโปรตีนชนิดหนึ่ง(beta amyloid protein)  เราจะเรียกการสะสมนี้ว่า plaque นอกจากนี้การตายของเซลล์ประสาทก็จะมีน้ำสมองและไขสันหลังเข้ามาแทนที่  บ้างก็เชื่อว่าเกิดจาก oxidative stress free radicals ไปทำให้เกิดการให้พลังงานและออกซิเจนของสมองเปลี่ยนไป เกิดการเสื่อมพังของเนื้อสมองเหล่านี้ล้วนอาจเป็นกลไกที่ทำให้เกิด CDS  แต่เอาเข้าจริงๆ ยังไม่มีคนรู้แน่ชัด ซึ่งโรคนี้มักจะเกิดกับสุนัขที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป


      อาการของโรค CDS ขึ้นกับระดับที่เป็นครับ ลองดูว่ามีอาการอะไรบ้างที่เข้าข่ายและถือว่าเป็น

  • ใช้เวลานานกับจุดใดจุดหนึ่งของบ้าน

  • ไม่ตอบสนองต่อการเรียก คือหูทวนลม

  • พฤติกรรมการนอนผิดไป เช่น นอนกลางวัน ตื่นกลางคืน

  • เดินวน ติดมุม ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน คล้ายๆ เลื่อนลอย เดินเรื่อยเปื่อย

  • พฤติกรรมนิสัยเปลี่ยนไป เช่น จากดุเป็นเชื่องเฉยเลย

  • การมองเห็น ได้ยิน รับรส ลดลง

  • อึ ฉี่ในบ้านเลยจากเดิมที่ไม่เคย

  • เห่าไร้สาเหตุ เรื่อยเปื่อย

  • กระวนกระวาย กระสับกระส่าย

  • จำสิ่งของ หรือคนในบ้านไม่ได้

  • ไม่สนใจอาหาร หรือสมาชิกในครอบครัว

ส่วนการวินิจฉัยโรคหลักๆ มาจากการสังเกตและการซักประวัติจากเจ้าของ โดยจะพิจารณาดังนี้

  • มีอาการ ได้แก่ เดินสะเปะสะปะทั่วบ้าน ไม่สนใจสังคม สิ่งแวดล้อม การตื่นการนอนเปลี่ยนตรงข้าม  อึฉี่ผิดที่ ไม่สนใจต่อสิ่งเร้า เช่นเสียง  เหล่านี้ล้วนเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญมาก แต่ก็มีหลายๆ โรคที่อาจทำให้มีอาการเหล่านี้ได้ เช่น โรคไทรอยด์ โรคคุชชิ่ง  เบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคกล้ามเนื้อ เป็นต้น

  • ตรวจเลือดทั้งเม็ดเลือดและค่าทางเคมี เพื่อดูว่ามีโรคทางระบบอื่นๆ แฝงไหม รวมถึงค่า electrolyte  ในเลือดด้วย

  • ตรวจปัสสาวะเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้มีทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • หาระดับไทรอยด์

  • ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจรวมไปถึงอัลตราซาวด์หัวใจเพื่อดูโรคของหัวใจ

  • การทำ CT scan หรือ MRI

การรักษานั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงแค่ลดการรุดหน้าของโรค  ให้เป็นไปอย่างช้าๆ ร่วมกับการลดอาการผิดปกติ ได้แก่ การใช้ยา การใช้ฟีโรโมน การปรับพฤติกรราม การปรับสิ่งแวดล้อม การใช้อาหารเฉพาะโรค การใช้สเตมเซลล์ หรืออาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน หากต้องการตรวจระบบประสาทในสุนัข สามารถนัดหมายวัน-เวลาได้ที่สาขาศรีราชานะคะ

.


ด้วยความปรารถนาดีจาก Pet Friends Groups

· โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา (เปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง) โทร. 089-2448865 หรือ Facebook “โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา-รักษาสัตว์ 24 ชั่วโมง”

· คลินิกเพื่อนสัตว์เลี้ยงบางแสน (Pet Friends Bangsaen) (9.00-18.00 น.) โทร.038-199174, 098-7165698 หรือ Facebook “PetFriends Bangsaen”

· โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทเฟรนด์ บ้านบึง (9.00-20.00 น.) โทร. 092-8325698 หรือ Facebook “โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทเฟรนด์ บ้านบึง”

บทความสุขภาพโดย

หมอพร.jpg
bottom of page